นโยบายการกำกับดูแลกิจการ
บริษัท ไอเอฟเอส แคปปิตอล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ได้ตระหนักถึงการดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรมเสมอมา บริษัทยึดมั่นที่จะรักษามาตรฐานในการกำกับดูแลกิจการและจรรยาบรรณต่อการให้บริการอย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม มีการเปิดเผยข้อมูลที่เพียงพอ
คณะกรรมการบริษัทให้ความสำคัญในเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ถือหุ้นทุกราย (ทั้งผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคลธรรมดา นิติบุคคล และนักลงทุนสถาบัน) โดยส่งเสริมให้มีการใช้สิทธิของตน เช่น 1) สิทธิในการได้รับใบหุ้นและสิทธิในการซื้อ รับซื้อคืนโดยบริษัทขายหรือโอนหุ้น 2) สิทธิในการมีส่วนแบ่งในผลกำไร/เงินปันผลของกิจการ 3) สิทธิในการพิจารณาค่าตอบแทนกรรมการให้ผู้ถือหุ้นพิจารณาเป็นประจำทุกปี 4) สิทธิในการออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อแต่งตั้ง และถอดถอนกรรมการ 5) สิทธิในการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีและกำหนดค่าสอบบัญชี และ 6) สิทธิในเรื่องการตัดสินใจอื่นๆ ที่มีผลกระทบสำคัญต่อบริษัท เช่น การจัดสรรเงินปันผล การกำหนด หรือการแก้ไขข้อบังคับและหนังสือบริคณห์สนธิ การลดทุนหรือเพิ่มทุน และการอนุมัติรายการพิเศษ เป็นต้น
ในปีที่ผ่านมา เพื่อรักษาสิทธิในการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นในปี 2566 ดังกล่าวข้างต้น และเป็นการเพิ่มทางเลือกในการเข้าร่วมประชุม บริษัทได้จัดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2566 เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2566 ในรูปแบบไฮบริด (Physical & e-AGM) ซึ่งจัดขึ้น ณ สถานที่ประชุม และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ก่อนการประชุม
บริษัทได้จัดส่งหนังสือเชิญประชุม และเอกสารประกอบรวมถึงหนังสือมอบฉันทะทั้ง 3 แบบ คือแบบทั่วไป ซึ่งเป็นแบบที่ง่ายและไม่ซับซ้อน (แบบ ก) แบบที่กำหนดรายการต่างๆ ที่จะมอบฉันทะที่ละเอียดชัดเจนตายตัว (แบบ ข) และแบบที่ใช้เฉพาะกรณีผู้ถือหุ้นเป็นผู้ลงทุนต่างประเทศและแต่งตั้งให้คัสโตเดียน (Custodian) ในประเทศไทยเป็นผู้รับฝากและดูแลหุ้น (แบบ ค) รวมทั้งเอกสารที่ต้องใช้ในการมอบฉันทะ และวิธีการใช้ให้ทราบโดยคำนึงถึงความถูกต้อง เพียงพอ และชัดเจนของข้อมูล แก่ผู้ถือหุ้นล่วงหน้ามากกว่า 21 วัน รวมทั้งบริษัทได้มีการประกาศในเว็บไซต์ของบริษัทล่วงหน้า 30 วันก่อนวันประชุม และติดประกาศหนังสือบอกกล่าวเรียกประชุมที่สำนักงานใหญ่ รวมถึงโฆษณาคำบอกกล่าวเชิญประชุมในหนังสือพิมพ์ติดต่อกันเป็นระยะเวลาต่อเนื่อง 3 วัน ก่อนวันประชุมอย่างน้อย 3 วัน
ในการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 2566 ผู้ถือหุ้นและผู้รับมอบฉันทะได้ลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมประชุมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้นล่วงหน้าเป็นเวลา 7 วันและเปิดให้ลงทะเบียนเพิ่มเติมในวันประชุมผู้ถือหุ้นอีก 1 วันจนกระทั่งการประชุมเสร็จสิ้น ซึ่งบริษัทจัดเตรียมอากรแสตมป์สำหรับผู้ถือหุ้นที่มีการมอบฉันทะ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ และบริษัทจะไม่กระทำการใดๆ ที่เป็นการจำกัดสิทธิในการเข้าร่วมประชุมของผู้ถือหุ้น ซึ่งผู้ถือหุ้นทุกท่านมีสิทธิเข้าร่วมประชุมตลอดระยะเวลาการประชุม และยังทำให้ผู้ถือหุ้นได้รับความสะดวกมากขึ้น
ในปีที่ผ่านมา บริษัทได้เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นเสนอระเบียบวาระการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น และเสนอชื่อบุคคลเข้ารับพิจารณาเลือกตั้งเป็นกรรมการบริษัท ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2565 - 15 ธันวาคม 2565 โดยเปิดเผยหลักเกณฑ์และวิธีการบนเว็บไซต์ของบริษัท www.ifscapthai.com ภายใต้หัวข้อ “นักลงทุนสัมพันธ์” → “การประชุมผู้ถือหุ้น” รวมทั้งช่องทางของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นการดำเนินการล่วงหน้าก่อนวันสิ้นสุดรอบบัญชี ทั้งนี้ เมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ปรากฏว่าไม่มีผู้ถือหุ้นท่านใดเสนอชื่อบุคคลให้บริษัทพิจารณาคัดเลือกเป็นกรรมการ และไม่มีการเสนอวาระการประชุมแต่อย่างใด นอกจากนี้คณะกรรมการบริษัทถือนโยบายที่จะไม่เพิ่มวาระการประชุมที่ไม่ได้แจ้งล่วงหน้าโดยไม่จำเป็น
วันประชุมผู้ถือหุ้น
บริษัทได้จัดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2566 ในรูปแบบไฮบริด (Physical & e-AGM) เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2566 โดยผู้ถือหุ้นเข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมของบริษัท ไอเอฟเอส แคปปิตอล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เลขที่ 1168/55 ชั้น 20 อาคารลุมพินีทาวเวอร์ ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร หรือสามารถเข้าร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามพระราชกำหนดว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563 รวมถึงกฎหมายและกฎระเบียบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และตามข้อบังคับของบริษัท โดยใช้สถานที่ถ่ายทอดสด (Live) ณ ห้องประชุมของบริษัท ทั้งนี้ บริษัทได้เปิดให้ผู้ถือหุ้นสามารถลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพิ่มเติมในวันประชุมอีก 1 วันจนกระทั่งการประชุมเสร็จสิ้นในวันดังกล่าว
ก่อนเริ่มการประชุมผู้ถือหุ้น ประธานที่ประชุมแนะนำคณะกรรมการ คณะผู้บริหาร ผู้สอบบัญชีของบริษัทและที่ปรึกษาทางกฎหมาย และเลขานุการที่ประชุมชี้แจงกฎ กติกาทั้งหมด รวมถึงวิธีการนับคะแนนเสียงในแต่ละวาระ ประธานฯ ให้ผู้เข้าร่วมประชุมเสนอความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ รวมถึงคำถามที่มีในแต่ละวาระการประชุม หลังจากนั้น ประธานฯ และผู้บริหารจะตอบข้อซักถามอย่างตรงประเด็น จากนั้นจึงให้ที่ประชุมออกเสียงลงมติในวาระนั้นๆ ตามลำดับ โดยจัดให้มีผู้ตรวจสอบการนับคะแนนเสียง และจะไม่เพิ่มวาระการประชุมโดยไม่แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้า เว้นแต่ที่ประชุมจะมีมติให้เปลี่ยนลำดับวาระด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมดที่เข้าประชุม
สำหรับการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2566 ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นไปตามข้อบังคับของบริษัท โดยเรียงตามวาระที่ระบุไว้ในหนังสือนัดประชุม และไม่มีการเพิ่มวาระการประชุม หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลสำคัญโดยไม่แจ้งผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้า ในการประชุมทุกครั้งจะมีการจดรายงานการประชุมและสรุปด้วยการลงมติพร้อมกับนับคะแนนเสียง ซึ่งบริษัทใช้โปรแกรมการจัดประชุมผู้ถือหุ้นตามมาตรฐานของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (TSD) เพื่อประสิทธิภาพความถูกต้องและความโปร่งใสต่อผู้ถือหุ้น และผู้ถือหุ้นสามารถเห็นคะแนนในแต่ละวาระได้ทันที เมื่อการนับคะแนนเสร็จสิ้น
สำหรับผลการประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทได้แจ้งมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นผ่านช่องทางการเปิดเผยข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยทันทีภายในวันประชุม และจัดทำรายงานการประชุมที่มีสาระสำคัญครบถ้วน โดยมีการบันทึกคำถามและความคิดเห็นต่างๆ และมติทั้งหมดของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งบริษัทได้เผยแพร่รายงานดังกล่าวในเว็บไซต์ของบริษัท และนำส่งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยภายใน 14 วันนับจากวันประชุมผู้ถือหุ้น และจัดเก็บรายงานการประชุมไว้ที่สำนักงานบริษัท
คณะกรรมการบริษัทได้ตระหนักถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ถือหุ้นทุกราย (ผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคลธรรมดา นิติบุคคล และนักลงทุนสถาบัน) ในการประชุมแต่ละครั้งจะกำกับดูแลให้ผู้ถือหุ้นทุกรายได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน โดยผู้ถือหุ้นทุกรายจะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับวันประชุม และวาระการประชุมเป็นการล่วงหน้า โดยบริษัทจะดำเนินการเรียกประชุม จัดส่งเอกสารและแจ้งวาระการประชุมเป็นการล่วงหน้าตามที่กฎหมายกำหนด และเผยแพร่ข้อมูลประกอบวาระการประชุมผู้ถือหุ้นล่วงหน้า 30 วัน ก่อนวันประชุม ไว้ที่เว็บไซต์ของบริษัท (www.ifscapthai.com) ภายใต้หัวข้อ “นักลงทุนสัมพันธ์” และจัดส่งหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นพร้อมเอกสารประกอบให้แก่ผู้ถือหุ้นล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 21 วัน เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้รับข้อมูลที่เพียงพอ และมีโอกาสได้ศึกษาวาระการประชุมล่วงหน้า และในแต่ละปีบริษัทเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นสามารถเสนอวาระการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น และเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับพิจารณาเลือกตั้งเป็นกรรมการบริษัทเป็นการล่วงหน้าภายในระยะเวลาที่บริษัทกำหนด นอกจากนี้ ในการประชุมจะเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิอย่างเท่าเทียมกันในการตรวจสอบการดำเนินงานของบริษัท และแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ ในแต่ละวาระ รวมทั้งบันทึกรายงานการประชุมถูกต้องครบถ้วนเพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถตรวจสอบได้
คณะกรรมการบริษัทกำหนดให้มีการใช้บัตรลงคะแนนเสียงในวาระต่างๆ ผู้ถือหุ้นมีสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนแบบหนึ่งหุ้นต่อหนึ่งเสียงโดยเท่าเทียมกัน และการเลือกตั้งกรรมการ บริษัทจะจัดให้มีการเลือกตั้งกรรมการเป็นรายบุคคล เพื่อความโปร่งใสและตรวจสอบได้ในกรณีที่มีข้อโต้แย้งในภายหลัง
คณะกรรมการบริษัทให้ความสำคัญในการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน โดยผู้ถือหุ้นสามารถแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะต่างๆ ให้กับบริษัทผ่านช่องทางการสื่อสารกับนักลงทุนสัมพันธ์ และในการประชุมสามัญ ผู้ถือหุ้นประจำปีของบริษัทในแต่ละครั้ง รวมถึงการเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นที่ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมสามารถมอบอำนาจให้กรรมการอิสระอย่างน้อย 1 ท่าน หรือผู้รับมอบอำนาจเป็นตัวแทนในการเข้าร่วมประชุมและออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้ ซึ่งทางบริษัทจะปฏิบัติต่อผู้รับมอบฉันทะเสมือนเป็นผู้ถือหุ้นท่านหนึ่ง
คณะกรรมการบริษัทมีนโยบายปฏิบัติตามข้อบังคับของบริษัท กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง หรือข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทให้ความสำคัญในการปฏิบัติตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน การได้มาและจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ที่สำคัญของบริษัท การเปิดเผยข้อมูลการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน และการใช้ข้อมูลภายในเพื่อหาผลประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น ตลอดจนกำหนดให้มีการดำเนินการต่างๆ เพื่อป้องกันการทำรายการที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์
คณะกรรมการบริษัทมีนโยบายห้ามกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน นำข้อมูลภายในของบริษัทซึ่งยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณชนไปเปิดเผยหรือใช้ซื้อขายหลักทรัพย์ (Insider Trading) รวมทั้งแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนหรือเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
บริษัทให้ความสำคัญต่อสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับบริษัท ตามสิทธิที่ควรได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันและเป็นธรรม รวมถึงไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการละเมิดสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียเหล่านี้ด้วย บริษัทได้ยึดมั่นในหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี มุ่งมั่นที่จะนำนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันที่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท รวมถึงกระบวนการในการประเมินความเสี่ยงจากการทุจริตคอร์รัปชันมากำหนดเป็นกฎเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติให้กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และบุคคลภายนอกที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้ยึดถือปฏิบัติ การกำหนดนโยบายการป้องกันการทุจริตและขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการควบคุมและตรวจสอบ ป้องกันการทุจริตภายในบริษัท และมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะเสริมสร้างองค์กรให้มีแนวปฏิบัติในการควบคุมอย่างจริงจังและต่อเนื่องและดำเนินการตรวจสอบการกระทำทุจริต โดยจะไม่ยอมรับการปฏิบัติใดๆ ที่ทุจริต ไม่ซื่อสัตย์ หรือการกระทำใดๆ ที่ฉ้อโกงอย่างสิ้นเชิงของผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกบริษัท (สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในหัวข้อ “การกำกับดูแลกิจการที่ดี” หรือ “นโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน” บนเว็บไซต์ของบริษัท) ทั้งนี้ ในปี 2566 บริษัทได้รับการต่ออายุการรับรองการเป็นสมาชิกแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (The Thai Private Sector Collective Action Against Corruption (CAC)) ต่อไปอีก 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2566 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2569 โดยบทบาทของผู้มีส่วนได้เสียต่อองค์กร สามารถสรุปได้ดังนี้
ผู้ถือหุ้น
บริษัทปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส สนับสนุนให้ผู้ถือหุ้นได้รับข้อมูลข่าวสารที่เพียงพอและเหมาะสม โดยเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญทั้งข้อมูลทางการเงิน และข้อมูลที่ไม่ใช่ทางการเงินต่อผู้ถือหุ้นอย่างถูกต้อง ครบถ้วน เพียงพอและทันเวลา ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น เว็บไซต์บริษัท
ลูกค้า
บริษัทให้บริการที่มีคุณภาพรวดเร็วเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ภายใต้เงื่อนไขที่เป็นธรรมทั้งสองฝ่าย รวมถึงการเก็บรักษาความลับของลูกค้า โดยบริษัทได้มีการกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติต่อลูกค้า และเปิดเผยไว้ให้เป็นที่ทราบในจรรยาบรรณธุรกิจของบริษัท
คู่ค้าและ/หรือเจ้าหนี้
บริษัทปฏิบัติต่อคู่ค้าและเจ้าหนี้อย่างเสมอภาคและเป็นธรรม โปร่งใส เป็นไปตามสัญญาหรือเงื่อนไขที่ตกลงกัน โดยบริษัทได้มีการกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติต่อคู่ค้าและ/หรือเจ้าหนี้ และเปิดเผยไว้ให้เป็นที่ทราบในจรรยาบรรณธุรกิจของบริษัทซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรมและโปร่งใส ทั้งนี้ ในรอบปีที่ผ่านมาบริษัทไม่มีข้อพิพาทหรือข้อร้องเรียนใดๆ ในเรื่องที่เกี่ยวกับคู่ค้า/เจ้าหนี้ แต่อย่างใด
พนักงาน
บริษัทปฏิบัติกับพนักงานอย่างเท่าเทียมกัน มีนโยบายการให้ผลตอบแทนและการแต่งตั้งที่เป็นธรรมและเหมาะสมสอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจและผลสำเร็จขององค์กรในแต่ละปี และเทียบเคียงได้กับบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน บริษัทมุ่งเน้นให้พนักงานสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีความสุขโดยการปรับปรุงดูแลสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ มีการพัฒนาความรู้ ความสามารถ และทักษะของพนักงานอย่างสม่ำเสมอ โดยมีการฝึกอบรมและจัดสัมมนาให้ความรู้กับพนักงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่รวมทั้งได้มีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับพนักงานอีกด้วย บริษัทได้มอบสวัสดิการทั้งด้านสุขภาพร่างกาย จิตใจและจัดกิจกรรมนันทนาการต่างๆ อย่างเหมาะสม ซึ่งในปี 2566 ไม่มีพนักงานเกิดอุบัติเหตุหรือการเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการทำงาน
คู่แข่ง
บริษัทประพฤติตามกติกาการแข่งขันที่ดี หลีกเลี่ยงวิธีการไม่สุจริตหรือไม่เหมาะสม และ ไม่ทำลายชื่อเสียงของคู่แข่ง โดยบริษัทได้มีการกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติต่อคู่แข่ง และเปิดเผยไว้ให้เป็นที่ทราบในจรรยาบรรณธุรกิจของบริษัท ทั้งนี้ ในรอบปีที่ผ่านมาบริษัทไม่มีข้อพิพาทหรือข้อร้องเรียนใดๆ ในเรื่องที่เกี่ยวกับคู่แข่งแต่อย่างใด
องค์กรกำกับดูแลและหน่วยงานภาครัฐ
บริษัทปฏิบัติตามกฎหมาย ประกาศ ข้อกำหนด และกฎระเบียบต่างๆ ที่กำหนดโดยองค์กรที่กำกับดูแลและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นต้น รวมทั้งให้ความร่วมมือและประสานงานในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี และมาตรการการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน
สังคม ชุมชนและสิ่งแวดล้อม
บริษัทสนับสนุนให้พนักงานมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อร่วมสร้างสรรค์สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องเสมอมาเพื่อให้ชุมชนมีคุณภาพที่ดีขึ้น ทั้งที่ดำเนินการเองและร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชนและชุมชนนอกจากนี้ บริษัทได้จัดทำข้อพึงปฏิบัติเกี่ยวกับจรรยาบรรณธุรกิจเพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ทุกคนในองค์กรยึดถือเป็นแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของตนด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และเที่ยงธรรม โดยบริษัทจะกำกับและติดตามเพื่อให้มีการปฏิบัติตามแนวทางของจรรยาบรรณธุรกิจดังกล่าวอย่างจริงจัง รวมถึง การกำหนดบทลงโทษทางวินัยไว้ด้วย บริษัทมีนโยบายและขั้นตอนการแจ้งการกระทำผิดและให้ความคุ้มครอง ผู้ร้องเรียน (สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ “นโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน” บนเว็บไซต์ของบริษัท) ซึ่งได้จัดให้มีช่องทางในการยื่นข้อร้องเรียนหรือรายงานถึงข้อกังวลใจเกี่ยวกับพฤติกรรมใดๆ ที่อาจก่อให้เกิดการกระทำที่ไม่เหมาะสม ผิดจริยธรรม หรืออาจก่อให้เกิดการฝ่าฝืนกฎหมาย ความประพฤติที่ไม่เหมาะสมทางการเงินหรือฉ้อโกง หรือสามารถรายงาน เมื่อพบเห็นการกระทำผิดกฎหมายหรือการกระทำผิดต่อนโยบายบริษัท โดยทุกข้อร้องเรียนสามารถยื่นได้ด้วยตนเองโดยตรงถึงประธานกรรมการตรวจสอบผ่านช่องทางอีเมล: whistleblowing@ifscapthai.com หรือทางไปรษณีย์ และข้อมูลจะถูกเก็บรักษาเป็นความลับ
คณะกรรมการบริษัทดูแลให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบริษัทต่อสาธารณะ ได้แก่ ข้อมูลทางการเงิน รายงานทางการเงิน และข้อมูลที่มิใช่ข้อมูลทางการเงิน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้อง โปร่งใส และทันเวลา เป็นไปตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (“ตลท.”) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (“สำนักงาน ก.ล.ต.”) โดยการเผยแพร่ข้อมูลผ่านช่องทางต่างๆ ได้แก่ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของ ตลท. แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/รายงานประจำปี (แบบ 56-1 One Report) บนเว็บไซต์ของบริษัท www.ifscapthai.com การจัดส่งหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นผ่านทางไปรษณีย์ เป็นต้น
ในส่วนของคุณภาพของรายงานทางการเงิน บริษัทได้แต่งตั้ง บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ สอบบัญชี จำกัด (“ดีลอยท์”) ในการเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท ซึ่งดีลอยท์เป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. มีความเป็นอิสระ และไม่มีความสัมพันธ์ใดๆ กับบริษัท ทำให้สามารถมั่นใจได้ว่า ข้อมูลที่แสดงในรายงานทางการเงินมีความถูกต้อง เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป อีกทั้งยังกำหนดให้คณะกรรมการตรวจสอบ เป็นผู้ดูแลพิจารณากลั่นกรองรายงานทางการเงิน รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินของบริษัท นอกจากนี้ บริษัทได้มีการเปิดเผยรายงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาต คำอธิบายและวิเคราะห์งบการเงิน พร้อมทั้งรายงาความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัทต่อรายงานทางการเงิน รายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการชุดย่อย จำนวนครั้งที่กรรมการเข้าร่วมประชุม รวมทั้งค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหารไว้ในรายงานประจำปี
คณะกรรมการบริษัทกำหนดให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานที่ได้รับทราบข้อมูลภายในไม่ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ของบริษัทในช่วง 30 วัน ก่อนงบการเงินรายไตรมาสและงบการเงินประจำปีถูกเผยแพร่ต่อสาธารณชน และภายหลังงบการเงินเผยแพร่ต่อสาธารณชนแล้วเป็นระยะเวลา 7 วัน ซึ่งเป็นไปตามข้อปฏิบัติการดูแลการใช้ข้อมูลภายในของบริษัท รวมทั้งกำหนดให้กรรมการ ผู้บริหารของบริษัทมีหน้าที่ต้องรายงานการมีส่วนได้เสียของตน และบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องให้บริษัททราบ เมื่อเข้าดำรงตำแหน่งครั้งแรกและเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทุกครั้ง เพื่อให้บริษัทใช้ในการพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันซึ่งเป็นรายการที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของบริษัทได้
นอกจากนี้ บริษัทให้ความสำคัญต่อการเปิดเผยข้อมูลที่มีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา และโปร่งใส และทั่วถึงทั้งรายงานข้อมูลทางการเงินและข้อมูลทั่วไป จึงได้จัดตั้งฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ฯ โดยมอบหมายให้ นายกันตภณ กิตติศิริประเสริฐ* เป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องการเปิดเผยข้อมูลสารสนเทศที่สำคัญของบริษัท และเป็นตัวแทนในการสื่อสารกับผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสียอื่น เช่น นักลงทุนที่เป็นสถาบัน นักวิเคราะห์ทั่วไป เป็นต้น ทั้งนี้ นักลงทุนทั่วไปสามารถติดต่อขอทราบข้อมูลของบริษัทได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ (66) 0-2285-6326-32 หรือที่เว็บไซต์ www.ifscapthai.com
หมายเหตุ: *นางสาวอารียา กาญจนบัตร ทำหน้าที่แทน นายกันตภณ กิตติศิริประเสริฐ ที่เกษียณอายุงาน โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567
คณะกรรมการบริษัทได้รับการแต่งตั้งจากผู้ถือหุ้นให้มีหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินงานทั้งหมดของบริษัท ซึ่งรวมถึงการสั่งการ อนุมัติ ตลอดจนการกำกับดูแลกิจการ และกลยุทธ์องค์กร คณะกรรมการบริษัทยังมีหน้าที่กำกับดูแลคณะผู้บริหารและมีความรับผิดชอบสูงสุดในการดูแลกลยุทธ์ความเสี่ยงและความมั่นคงทางการเงิน ดังนั้น คณะกรรมการบริษัทจึงมีบทบาทสำคัญในการกำกับดูแลกิจการ และมีความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติหน้าที่ผู้ถือหุ้น เพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทและผู้ถือหุ้นโดยรวม
ในปี 2566 บริษัทได้ปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีมาอย่างต่อเนื่อง และได้รับผลการประเมินการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนไทยในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (Corporate Governance Report of Thai Listed Companies) ประจำปี 2566 โดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (Thai Institute of Directors Association) อยู่ในระดับ “ดีมาก” นอกจากนี้ บริษัทยังได้รับการประเมินคุณภาพการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2566 ในระดับ “ดีเยี่ยม” โดยสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย (Thai Investors Association)
องค์ประกอบของคณะกรรมการ
คณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์และจำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท รวมทั้งมีส่วนร่วมในการให้ ความเห็นในการกำหนดวิสัยทัศน์และภารกิจ กลยุทธ์ เป้าหมายทางการเงิน ความเสี่ยง แผนงาน และงบประมาณของบริษัท ตลอดจน กำกับดูแลฝ่ายจัดการให้ดำเนินการเป็นไปตามแผนงานและนโยบายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยองค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัทเป็นไปตามเกณฑ์ของสำนักงาน ก.ล.ต. คือ (1) มีกรรมการอิสระอย่างน้อยหนึ่งในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมดแต่ต้องไม่น้อยกว่า 3 คน และ (2) มีกรรมการตรวจสอบ อย่างน้อย 3 คน
บริษัทมีกรรมการจำนวนทั้งสิ้น 6 ท่าน ประกอบด้วยกรรมการที่เป็นสุภาพสตรีจำนวน 2 ท่าน และสุภาพบุรุษจำนวน 4 ท่าน การเลือกตั้งกรรมการบริษัทเป็นไปตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามกฎหมายและข้อบังคับของบริษัท ซึ่งเป็นจำนวนที่ เหมาะสมกับธุรกิจของบริษัท โดยมีองค์ประกอบสอดคล้องกับเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตลอดจนจัดให้มีองค์ประกอบที่มีความหลากหลาย ได้แก่ อายุ เพศ ความรู้ ความชำนาญ ประสบการณ์ และคุณสมบัติที่สำคัญอื่นๆ โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 ประกอบด้วย
คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหามีหลักเกณฑ์
ในการคัดเลือกกรรมการ โดยพิจารณาจากลักษณะการประกอบธุรกิจของบริษัท จึงได้กำหนดคุณสมบัติของกรรมการที่ต้องการสรรหา ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจของบริษัท โดยพิจารณาทักษะที่จำเป็นที่ยังขาดอยู่ และมีนโยบายความหลากหลายในโครงสร้างของคณะกรรมการ (Board Diversity) ทั้งทางด้านทักษะวิชาชีพ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ความรู้ ความสามารถ เพศ รวมถึงประสบการณ์การทำงาน เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาเพื่อกำหนดหากรรมการที่มีความเหมาะสม ทั้งด้านประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถที่จะเป็นประโยชน์ต่อบริษัท บริษัทได้มีการจัดทำตารางองค์ประกอบความรู้ความชำนาญของกรรมการ (Board Skills Matrix) สรุปได้ดังแผนภูมิแท่งด้านล่าง เพื่อใช้ในการสอบทานโครงสร้างของคณะกรรมการ รวมทั้งใช้เป็นข้อมูล เพื่อประกอบการพิจารณาสรรหากรรมการ เพื่อให้มั่นใจว่าจะได้คณะกรรมการที่มีคุณสมบัติเหมาะสม สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินธุรกิจของบริษัท ทั้งนี้ บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามมาตรา 68 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 (รวมทั้งที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม) พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (รวมทั้งที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม) รวมทั้งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน กฎหมายอื่น และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
ปัจจุบันคณะกรรมการบริษัทประกอบด้วยกรรมการจำนวน 6 ท่าน ซึ่งมีจำนวนที่เหมาะสมกับสภาพการดำเนินธุรกิจของบริษัท และกรรมการทุกท่านล้วนแล้วแต่มีประสบการณ์ในการทำงานในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน คณะกรรมการบริษัทในปัจจุบันจึงประกอบด้วยผู้มีคุณวุฒิและประสบการณ์ความเชี่ยวชาญจากหลากหลายอาชีพ และครอบคลุมในทุกด้านอย่างเหมาะสมครบถ้วน บริษัทได้เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นเสนอระเบียบวาระการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น และเสนอชื่อบุคคลเข้ารับพิจารณาเลือกตั้งเป็นกรรมการบริษัท ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2565 - 15 ธันวาคม 2565 โดยเปิดเผยหลักเกณฑ์และวิธีการบนเว็บไซต์ของบริษัท www.ifscapthai.com ภายใต้หัวข้อ “นักลงทุนสัมพันธ์” → “การประชุมผู้ถือหุ้น” รวมทั้งช่องทางของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นการดำเนินการล่วงหน้าก่อนวันสิ้นสุดรอบบัญชี นอกจากนี้คณะกรรมการบริษัทถือนโยบายที่จะไม่เพิ่มวาระการประชุมที่ไม่ได้แจ้งล่วงหน้าโดยไม่จำเป็น ทั้งนี้ ไม่มีผู้ถือหุ้นท่านใดเสนอเพิ่มวาระการประชุมและเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการพิจารณาคัดเลือกเป็นกรรมการบริษัทสำหรับการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2566
Board skill matrix
* ประเมินจากคุณสมบัติการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน ทักษะวิชาชีพ การอบรม/สัมมนา
ในปี 2566 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติการแต่งตั้งกรรมการใหม่จำนวน 1 ท่าน ได้แก่ นายทวีศักดิ์ แสงทอง ดำรงตำแหน่ง กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2566 แทน นายชยุตม์ วิชชุประภา ซึ่งเป็นกรรมการที่พ้นตำแหน่งตามวาระ
ภาวะผู้นำและวิสัยทัศน์
คณะกรรมการบริษัทมีอำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบในการจัดการบริษัทให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัท ตลอดจนมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่ชอบด้วยกฎหมาย ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของบริษัท โดยสรุปอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบที่สำคัญได้ดังนี้
4. ทบทวนโครงสร้างของคณะกรรมการ บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ กรรมการ และผู้บริหารระดับสูง การแต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อย การสรรหา ค่าตอบแทนและการพัฒนากรรมการ การปฐมนิเทศกรรมการ การประชุม การประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ และแผนการสืบทอดตำแหน่ง
5. คณะกรรมการอาจมอบอำนาจให้กรรมการคนหนึ่ง หรือหลายคน หรือบุคคลอื่นใด ปฏิบัติการอย่างหนึ่ง อย่างใดแทนคณะกรรมการได้ โดยอยู่ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการ หรืออาจมอบอำนาจเพื่อให้บุคคลดังกล่าวมีอำนาจตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร และภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการเห็นสมควร ซึ่งคณะกรรมการอาจยกเลิก เพิกถอน เปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขการมอบอำนาจนั้นๆ ได้เมื่อเห็นสมควร
ในการนี้ การมอบอำนาจนั้นต้องไม่มีลักษณะเป็นการมอบอำนาจที่ทำให้บุคคลดังกล่าวสามารถพิจารณาและอนุมัติรายการที่ตนหรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง มีส่วนได้เสีย หรือมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในลักษณะอื่นใดที่จะทำขึ้นกับบริษัท หรือ บริษัทย่อย (ถ้ามี) (ตามที่นิยามไว้ในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนและ/หรือตลาดหลักทรัพย์ฯ และ/หรือประกาศอื่นใดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง) เว้นแต่เป็นการอนุมัติรายการที่เป็นไปตามนโยบายและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการพิจารณาและอนุมัติไว้แล้ว
8. จัดให้มีการจัดทำงบการเงินของบริษัท ณ วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีของบริษัท พร้อมทั้งเปิดเผยข้อมูลอันเป็นสาระสำคัญ ถูกต้อง ครบถ้วน และถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป ซึ่งผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้ว และนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาและอนุมัติ
9. กรรมการจะต้องไม่ประกอบกิจการอันมีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับกิจการของบริษัท หรือเข้าเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือเป็นกรรมการของบริษัทเอกชน หรือบริษัทอื่นที่ประกอบกิจการอันมีสภาพอย่างเดียวกัน และเป็นการแข่งขันกับกิจการของบริษัทไม่ว่าจะทำเพื่อประโยชน์ตน หรือเพื่อประโยชน์ผู้อื่น เว้นแต่จะได้แจ้งให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบก่อนที่จะมีมติแต่งตั้ง
10. กรรมการต้องแจ้งให้บริษัททราบโดยไม่ชักช้า หากมีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยตรง หรือโดยอ้อมในสัญญาที่บริษัททำขึ้น หรือถือหุ้น หรือหลักทรัพย์อื่นเพิ่มขึ้น หรือลดลงในบริษัท หรือบริษัทในเครือ
11. ควบคุมดูแลให้มั่นใจว่าบริษัทมีนโยบาย กลยุทธ์ และมาตรฐานการบริหารความเสี่ยงที่ดีและมีประสิทธิภาพ และมีวัฒนธรรมองค์กรที่คำนึงถึงความเสี่ยง
12. ดูแลให้มั่นใจว่าบริษัทมีการทบทวนระบบการควบคุมภายในอย่างสม่ำเสมอ ให้ครอบคลุมทั้งองค์กร และกำกับดูแลให้มีระบบ หรือกระบวนการในการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม โดยมีมาตรการรองรับ และวิธีการควบคุม เพื่อลดผลกระทบต่อธุรกิจของบริษัทอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
13. ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่กฎหมายกำหนด
คณะกรรมการบริษัทจัดให้มีแผนธุรกิจและงบประมาณ (Corporate Plan) ที่สะท้อนถึงแนวคิดและวิสัยทัศน์ในการดำเนินธุรกิจในอนาคตของบริษัท โดยมีเป้าหมายที่ชัดเจนและสามารถวัดผลได้ เพื่อให้ฝ่ายบริหารนำไปปฏิบัติและประเมินผล รวมทั้งรายงานการวิเคราะห์การดำเนินงานโดยฝ่ายบริหารต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่อรับทราบความคืบหน้า เพื่อให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย
บริษัทให้ความสำคัญในการดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้แนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยบริษัทไม่มีนโยบายสนับสนุนให้มีการทำรายการกับบุคคลที่มีความเกี่ยวโยงกัน หรือการทำรายการซึ่งอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ทั้งนี้ หากเกิดรายการดังกล่าวคณะกรรมการตรวจสอบจะพิจารณารายการดังกล่าวอย่างละเอียดถี่ถ้วน โดยจะรายงานและนำเสนอคณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติ
คณะกรรมการบริษัทมีความรับผิดชอบในกำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี รวมถึงการนำไปปฏิบัติใช้ เพื่อให้บริษัทดำเนินการให้ครบถ้วน อาทิ การแสดงข้อมูลที่เกี่ยวกับผลประกอบการด้านต่างๆ เช่น ข้อมูลทางการเงิน การบริหารความเสี่ยง การลงทุน สภาพคล่อง ข้อมูลด้านสินทรัพย์และหนี้สิน การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎและระเบียบต่างๆ ตลอดจนการทบทวนและติดตามผลให้มีการปฏิบัติตาม โดยคณะกรรมการบริษัทควรพิจารณารายงานและข้อมูลต่างๆ เหล่านั้นด้วยความรอบคอบ และระมัดระวังเพื่อให้ทราบถึงสัญญาณเตือนในด้านต่างๆ เช่น แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในด้านต่างๆ การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ รวมทั้งประเด็นอื่นๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของบริษัท รวมทั้งจัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานตนเองของคณะกรรมการ เพื่อหาแนวทางเพื่อนำไปพัฒนาและปรับปรุงให้ดีต่อไป
คณะกรรมการบริษัทได้ระมัดระวังในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจจะเกิดขึ้น จึงได้กำหนดแนวทางปฏิบัติสำหรับบริษัท กรรมการและผู้บริหารในการเข้าทำรายการระหว่างกัน กำหนดมาตรการและขั้นตอนในการอนุมัติให้เข้าทำรายการระหว่างกัน และนโยบายหรือแนวโน้มการทำรายการระหว่างกันในอนาคต ให้สอดคล้องและเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง หรือข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกำหนด รวมทั้งเปิดเผยข้อมูลรายการที่เกี่ยวโยงกันไว้ใน งบการเงิน และแบบ 56-1 One Report เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถตรวจสอบได้
บริษัทได้จัดทำจรรยาบรรณธุรกิจ เพื่อเป็นแนวทางให้กรรมการผู้บริหาร พนักงานยึดถือปฏิบัติ ซึ่งครอบคลุมถึงเรื่องความเป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้น การคำนึงถึงสิทธิของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ การหลีกเลี่ยงการกระทำใดๆ ที่ขัดแย้งทางผลประโยชน์ของบริษัท ความรับผิดชอบต่อทรัพย์สินของบริษัท การหลีกเลี่ยงการใช้ข้อมูลภายในเพื่อเอื้อประโยชน์ส่วนตน การเปิดเผยข้อมูลอย่างถูกต้องและทันเวลา ความรับผิดชอบต่อสังคมและส่วนรวม
บริษัทจัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานตนเองของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการชุดย่อยเป็นประจำทุกปี เพื่อเปิดโอกาสให้กรรมการพิจารณาผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ โดยมีการรายงานผลการประเมินต่อที่ประชุมคณะกรรมการรับทราบ การประเมินการปฏิบัติงานดังกล่าวเป็นเครื่องมือสำคัญในการประเมินความเหมาะสมของโครงสร้างคณะกรรมการ และประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยคณะกรรมการจะวิเคราะห์ผลการประเมิน ข้อเสนอแนะ ข้อควรสังเกตต่างๆ เพื่อนำมาพิจารณาใช้ปฏิบัติให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและการดำเนินธุรกิจ
หัวข้อในการประเมินผลการปฏิบัติงานตนเองแบบรายคณะ
- โครงสร้างและคุณสมบัติของคณะกรรมการ
- บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
- การประชุมคณะกรรมการ
- การทำหน้าที่ของกรรมการ
- ความสัมพันธ์กับฝ่ายจัดการ
- การพัฒนาตนเองของกรรมการและการพัฒนาผู้บริหาร
หัวข้อในการประเมินผลการปฏิบัติงานตนเองแบบรายบุคคล (ตนเองประเมินตนเอง)
- โครงสร้างและคุณสมบัติของคณะกรรมการ
- บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
- การประชุมของคณะกรรมการ
ขั้นตอนการประเมินตนเองของคณะกรรมการ
เลขานุการบริษัทจะจัดส่งแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานตนเองของคณะกรรมการดังกล่าวให้กรรมการทุกท่านประเมินผลการปฏิบัติงานในช่วงปีที่ผ่านมา ทั้งแบบรายคณะ และรายบุคคล (ประเมินตนเอง) และนำส่งให้เลขานุการบริษัทรวบรวม วิเคราะห์ และสรุปผล เพื่อนำผลที่ได้เสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อรับทราบ
ทั้งนี้ ผลการประเมินตนเองของคณะกรรมการในปี 2566 พบว่า กรรมการส่วนใหญ่ให้คะแนนในเชิงประสิทธิภาพที่ระดับ “ดี-ดีมาก” ทั้งนี้ คณะกรรมการยังได้ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการและหาแนวทางเพื่อนำไปพัฒนาและปรับปรุงให้ดีต่อไป
การประชุมของกรรมการ
คณะกรรมการบริษัทจัดให้มีการประชุมอย่างสม่ำเสมอ เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับของบริษัท รวมทั้งหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อรับทราบและร่วมกันตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจของบริษัท โดยคณะกรรมการบริษัทมีการประชุมอย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง มีการกำหนดตารางการประชุมล่วงหน้าเป็นประจำทุกปี และมีการประชุมเพิ่มเติมตามความจำเป็น การส่งหนังสือเชิญระชุมพร้อมระเบียบวาระการประชุมที่ชัดเจนและเอกสารประกอบการประชุมเพียงพอจัดส่งให้กรรมการล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน เว้นแต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วน เพื่อรักษาสิทธิหรือประโยชน์ของบริษัท เพื่อให้คณะกรรมการได้มีเวลาศึกษาข้อมูลอย่างเพียงพอก่อนเข้าร่วมประชุม ในการประชุมดังกล่าว คณะกรรมการเปิดโอกาสให้ผู้บริหารได้มีส่วนร่วมในการเข้าร่วมประชุม เพื่อตอบข้อซักถามในประเด็นที่มีข้อสงสัย และได้มีการกำหนดองค์ประชุมขั้นต่ำ ณ ขณะที่คณะกรรมการจะลงมติในที่ประชุมคณะกรรมการว่า ต้องมีกรรมการอยู่ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมด ในส่วนของรายงานการประชุมจะมีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร และจะจัดเก็บรายงานการประชุมที่ผ่านการรับรองจากที่ประชุมแล้ว เพื่อให้กรรมการหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบได้
ในปี 2566 กรรมการบริษัทได้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการชุดย่อยในรูปแบบ มาประชุมด้วยตนเอง ณ ห้องประชุมของบริษัท สำหรับการประชุมผู้ถือหุ้นเป็นการประชุมแบบไฮบริดที่เปิดโอกาสให้ ผู้ถือหุ้นสามารถเข้าร่วมประชุมทั้งแบบมาประชุมด้วยตนเอง ณ ห้องประชุมของบริษัท และการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์อีกช่องทางหนึ่ง ดังนี้
รายชื่อกรรมการ
|
ตำแหน่ง
|
** คณะกรรมการบริษัท
(6 ท่าน) |
คณะกรรมการตรวจสอบ
(3 ท่าน) |
คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหา
(3 ท่าน) |
การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2566 (แบบไฮบริด)
|
---|---|---|---|---|---|
จำนวนการประชุม (ครั้ง/ปี) |
4
|
4
|
1
|
1
|
|
1. นายแรนดี้ ซิม เชง เหลียง |
ประธานกรรมการ และกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหา
|
4/4
|
1/1
|
1/1
|
|
2. นางจุไรรัตน์ ปันยารชุน * |
กรรมการอิสระ ประธานกรรมการตรวจสอบ และกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหา
|
4/4
|
4/4
|
1/1
|
1/1
|
3. นายสุธีร์ โล้วโสภณกุล * |
กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบและประธานกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหา
|
4/4
|
4/4
|
1/1
|
0/1
|
4. นายชยุตม์ วิชชุประภา *1/ |
กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ
|
1/4
|
1/4
|
1/1
|
|
5. นายทวีศักดิ์ แสงทอง *2/ |
กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ
|
3/4
|
2/4
|
||
6. นางสาวฉวน หยี่ เฉียน |
กรรมการ
|
4/4
|
1/1
|
||
7. นายตัน เล เยน |
กรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
|
4/4
|
1/1
|
หมายเหตุ
* กรรมการอิสระ
1/ นายชยุตม์ วิชชุประภา กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ ที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2566
2/ นายทวีศักดิ์ แสงทอง ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ แทน นายชยุตม์ วิชชุประภา โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2566
** คณะกรรมการบริษัทกำกับดูแลการบริหารความเสี่ยงของบริษัท
ค่าตอบแทนกรรมการ
บริษัทได้กำหนดนโยบายค่าตอบแทนกรรมการไว้อย่างชัดเจนและโปร่งใส โดยพิจารณาเปรียบเทียบกับการจ่ายค่าตอบแทนกรรมการของบริษัทชั้นนำในตลาดหลักทรัพย์ฯ และในอุตสาหกรรมเดียวกัน ตลอดจนผลการดำเนินงานของบริษัท อีกทั้งยังคำนึงถึงประสบการณ์ ภาระหน้าที่ ขอบเขตของบทบาทและความรับผิดชอบ เพื่อที่จะจูงใจและรักษากรรมการที่มีคุณสมบัติที่ต้องการ และได้ขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น โดยกำหนดโครงสร้างการจ่ายค่าตอบแทนในรูปแบบของค่าตอบแทนประจำ (รายปี) เบี้ยประชุม และโบนัส ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
สำหรับค่าตอบแทนผู้บริหารเป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหาเสนอก่อนที่คณะกรรมการบริษัทอนุมัติ โดยพิจารณาตามบทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบ และผลการปฏิบัติงานและความทุ่มเทของผู้บริหารแต่ละท่าน ในปี 2566 คณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติการปรับปรุงโครงสร้างค่าตอบแทนกรรมการ โดยปรับเพิ่มค่าตอบแทนรายปี แต่คงค่าเบี้ยประชุมในอัตราเดิม ซึ่งได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีแล้วตามรายละเอียดด้านล่าง
กรรมการ (ไม่รวมประธานเจ้าหน้าที่บริหาร)
|
ปี 2566
|
รวมค่าตอบแทนกรรมการแต่ละท่าน
|
||
---|---|---|---|---|
เบี้ยประชุม (บาท)
|
ค่าตอบแทนรายปี (บาท)
|
โบนัส (บาท)
|
||
1. นายแรนดี้ ซิม เชง เหลียง |
120,000
|
190,000
|
714,000
|
1,024,000
|
2. นางจุไรรัตน์ ปันยารชุน * |
200,000
|
252,877
|
357,000
|
809,877
|
3. นายสุธีร์ โล้วโสภณกุล * |
185,000
|
294,384
|
357,000
|
836,384
|
4. นายชยุตม์ วิชชุประภา *1/ |
40,000
|
-
|
-
|
40,000
|
5. นายทวีศักดิ์ แสงทอง *2/ |
100,000
|
155,000
|
357,000
|
612,000
|
6. นางสาวฉวน หยี่ เฉียน |
80,000
|
80,000
|
357,000
|
517,000
|
7. นายตัน เล เยน |
-
|
-
|
-
|
-
|
รวม |
725,000
|
972,261
|
2,142,000
|
3,839,261
|
หมายเหตุ ไม่มีค่าตอบแทนอื่น นอกจากค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินข้างต้นนี้
* กรรมการอิสระ
1/นายชยุตม์ วิชชุประภา กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2566
2/นายทวีศักดิ์ แสงทอง ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ แทน นายชยุตม์ วิชชุประภา โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2566
ผลตอบแทนและลักษณะผลตอบแทนที่ให้กับพนักงาน (ไม่รวมกรรมการ และผู้บริหาร)
ลักษณะผลตอบแทน
|
ปี 2566 (บาท)
|
---|---|
เงินเดือน/ค่าจ้าง โบนัส |
61,046,615
|
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสวัสดิการพนักงาน |
15,996,031
|
รวม
|
77,042,646
|
ค่าตอบแทนอื่นๆ ที่เป็นตัวเงิน
บริษัทได้เข้าร่วมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) กับกองทุน ซึ่งจดทะเบียนแล้วตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยพนักงานจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนในอัตราร้อยละ 5 - 15 ของค่าจ้าง และบริษัทจ่ายสมทบอีกส่วนหนึ่งตามอัตราที่กำหนดไว้ในข้อบังคับกองทุน
ค่าตอบแทนการสอบบัญชี
บริษัทจ่ายค่าตอบแทนให้แก่ผู้สอบบัญชีของบริษัท คือ บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ สอบบัญชี จำกัด นอกจากนี้บริษัทมีบริการอื่นๆ* เช่น ค่าใช้จ่ายในการเสนอรายงานต่อบริษัทในกลุ่ม และค่าใช้จ่ายอื่นที่เกิดขึ้นจริง ได้แก่ ค่าทำงานล่วงเวลา และค่าเดินทาง ตามตารางด้านล่าง
|
ปี 2566 (บาท)
|
---|---|
ค่าตอบแทนการสอบบัญชี |
2,265,000
|
ค่าบริการอื่นๆ* |
385,655
|
รวม |
2,650,655
|
บริษัทให้ความสำคัญในเรื่องการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยได้กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องไว้ในนโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัทและจรรยาบรรณธุรกิจ พร้อมทั้งส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติอย่างแท้จริงเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม และได้ติดตามเพื่อให้เกิดการปฏิบัติตามการกำกับดูแลกิจการที่ดี ดังนี้
การดูแลเรื่องการใช้ข้อมูลภายใน
บริษัทมีข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการควบคุมและการใช้ข้อมูลภายในอย่างรัดกุม โดยเฉพาะข้อมูลแสดงฐานะทางการเงินของบริษัทก่อนที่จะเผยแพร่ต่อสาธารณชน บริษัทมีนโยบายและวิธีการดูแลกรรมการ ผู้บริหารและพนักงานในการนำข้อมูลภายในของบริษัทไปใช้ เพื่อประโยชน์ส่วนตน ดังนี้
- กำหนดให้กรรมการและผู้บริหารของบริษัทมีหน้าที่ต้องรายงานการมีส่วนได้เสียของตนหรือของบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง ได้แก่ คู่สมรส บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ บุตรบุญธรรม หรือบุคคลอื่นที่กำหนดหนดไว้ตามมาตรา 89/14 ของ พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ มายังเลขานุการบริษัท เพื่อให้บริษัทมีข้อมูลประกอบการดำเนินการตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน ซึ่งเป็นรายการที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือการถ่ายเทผลประโยชน์ของบริษัทได้ และเพื่อประโยชน์ในการติดตามดูแลการมีส่วนได้เสียของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท หรือของบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง โดยให้รายงานเป็นครั้งแรกตั้งแต่ได้รับแต่งตั้ง และรายงานทุกครั้งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล
- ห้ามมิให้กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน รวมถึงคู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าว ใช้ข้อมูลภายในเพื่อทำการซื้อ ขาย โอน หรือรับโอนหลักทรัพย์ของบริษัท ก่อนที่ข้อมูลนั้นจะถูกเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปทราบโดยทั่วถึงกัน โดยเฉพาะในช่วง 30 วันก่อนที่งบการเงินรายไตรมาสและงบการเงินประจำปีของบริษัทจะถูกเผยแพร่ต่อสาธารณชน และภายหลังจากที่ข้อมูลดังกล่าวได้ถูกเผยแพร่ต่อสาธารณชนแล้วเป็นระยะเวลา 7 วัน โดยหน่วยงานเลขานุการบริษัทจะแจ้งไปยังกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน รวมทั้งคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าวทางอีเมลให้ทราบถึงช่วงเวลาห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ (Blackout Period) ของบริษัทในปี 2566 ไม่พบว่ากรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน รวมถึงคู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าวมีการซื้อขายหลักทรัพย์ในช่วงเวลาที่บริษัทกำหนดห้ามการซื้อขาย
- กรรมการและผู้บริหารที่มีหน้าที่ต้องรายงานการถือครองหลักทรัพย์ของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเกี่ยวกับการรายงานการถือครองหลักทรัพย์ของบริษัทต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตามมาตรา 59 และบทกำหนดโทษตามมาตรา 275 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (รวมทั้งที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม) รวมทั้งการรายงานการได้มาหรือจำหน่ายหลักทรัพย์ของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามมาตรา 246 และบทกำหนดโทษ ตามมาตรา 298 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (รวมทั้งที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม) หากมีการกระทำการฝ่าฝืนระเบียบปฏิบัติดังกล่าวข้างต้น บริษัทจะดำเนินการทางวินัยเพื่อพิจารณาลงโทษตามสมควรแก่กรณี เช่น ตักเตือนเป็นหนังสือ ลดค่าจ้าง พักงาน เลิกจ้าง เป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์
บริษัทกำหนดให้คณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร และผู้ดำรงตำแหน่งสูงกว่าหรือเทียบเท่าผู้จัดการฝ่ายการเงินและบัญชี เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์ของบริษัท จะต้องรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (รวมทั้งที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม) ภายใน 3 วันทำการนับจากวันที่มีการเปลี่ยนแปลง โดยในรอบปีที่ผ่านมากรรมการบริษัทและผู้บริหารได้รายงานการถือครองหลักทรัพย์ของตน ดังนี้
ชื่อ - สกุล
|
ตำแหน่ง
|
จำนวนการถือหุ้น IFS
|
|||
---|---|---|---|---|---|
การถือครองหลักทรัพย์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566
|
(%)
|
การถือครองหลักทรัพย์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565
|
จำนวนหุ้น เพิ่ม (ลด) ระหว่างปี
|
||
กรรมการ | |||||
นายแรนดี้ ซิม เชง เหลียง |
ประธานกรรมการ และกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหา
|
-
|
-
|
-
|
-
|
นางจุไรรัตน์ ปันยารชุน * |
กรรมการอิสระ ประธานกรรมการตรวจสอบ และกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหา
|
-
|
-
|
-
|
-
|
นายสุธีร์ โล้วโสภณกุล * |
กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ และประธานกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหา
|
-
|
-
|
-
|
-
|
นายทวีศักดิ์ แสงทอง *1/ |
กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ
|
-
|
-
|
-
|
-
|
นางสาวฉวน หยี่ เฉียน |
กรรมการ
|
-
|
-
|
-
|
-
|
นายตัน เล เยน |
กรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
|
210,000
|
0.04
|
210,000
|
-
|
ผู้บริหาร | |||||
นายตัน เล เยน |
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
|
210,000
|
0.04
|
210,000
|
-
|
นายกันตภณ กิตติศิริประเสริฐ *2/ |
ประธานเจ้าหน้าที่การเงิน
|
-
|
-
|
-
|
-
|
นางสาวอารียา กาญจนบัตร *2/ |
ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่การเงิน
|
-
|
-
|
-
|
-
|
นายปากน้ำ สาระกุล |
ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์
|
105,005
|
0.02
|
105,005
|
-
|
นางสาวขวัญใจ แซ่ไหล |
ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายปฏิบัติการ
|
-
|
-
|
-
|
-
|
นางสุธิดา ศุภนุกูลสมัย |
ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายบริหารความเสี่ยง
|
112,000
|
0.02
|
-
|
112,000
|
นางเพ็ญศรี เพชรทอง |
หัวหน้าฝ่ายการเงินและบัญชี
|
-
|
-
|
-
|
-
|
นายกำพล ดั่นเจริญ |
หัวหน้าฝ่ายพัฒนาธุรกิจ
|
1,050
|
0.0002
|
1,050
|
-
|
นางณัฐสรัญ พุ่มพิเชฏฐ์ |
หัวหน้าฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ ทีม 1
|
3,005
|
0.0006
|
3,005
|
-
|
หมายเหตุ: ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของกรรมการและผู้บริหาร ไม่มีการถือครองหล้กทรัพย์ของบริษัท
* กรรมการอิสระ
1/นายทวีศักดิ์ แสงทอง ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ แทน นายชยุตม์ วิชชุประภา กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระโดยมีผลตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2566
2/นางสาวอารียา กาญจนบัตร ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่การเงิน แทน นายกันตภณ กิตติศิริประเสริฐ ซึ่งเกษียณอายุ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567
การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
บริษัทตระหนักถึงความสำคัญของการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน จึงได้กำหนดขึ้นเป็นนโยบายสำคัญของบริษัทเพื่อแสดงให้เห็นว่าบริษัทมีนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันอย่างสิ้นเชิง (Zero-Tolerance Policy) และกำหนดกฎเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันมิให้บริษัท กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท ตลอดจนบุคคลอื่น (เช่น บุคคลที่สาม) ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน รวมถึงกำหนดขั้นตอนการสอบทานและการกำกับดูแล เพื่อให้มั่นใจว่ามีการปฏิบัติตามนโยบายฉบับนี้โดยเคร่งครัด นอกจากนี้ บริษัทได้จัดทำคู่มือมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชัน รวมทั้งนโยบายป้องกันการทุจริต โดยได้เปิดเผยรายละเอียดของนโยบายและขั้นตอนไว้บนเว็บไซต์ www.ifscapthai.com ภายใต้หัวข้อ “การกำกับดูแลกิจการที่ดี”
ในปี 2566 คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติการปรับปรุงนโยบายการต่อต้านการคอร์รัปชันเพื่อให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของหน่วยงานกำกับดูแล และบริษัทได้สื่อสารไปยังกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานเพื่อรับทราบและถือปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าว นอกจากนี้ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทในการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม บริษัทได้เป็นสมาชิกของแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (Thai Private Sector Collective Action Against Corruption: “CAC”) โดย CAC มีมติอนุมัติการต่ออายุการรับรองการเป็นสมาชิกดังกล่าวเป็นครั้งที่ 2 ระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันที 30 ธันวาคม 2566 -30 ธันวาคม 2569
ในปี 2566 บริษัทไม่พบกรณีที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชัน ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
การแจ้งเบาะแส (Whistleblowing)
บริษัทได้กำหนดนโยบายและขั้นตอนการแจ้งการกระทำผิดและให้ความคุ้มครองผู้ร้องเรียน เพื่อกำหนดให้มีกลไกสำหรับบุคคลในองค์กรของบริษัท และผู้มีส่วนได้เสียอื่น ในการยื่นข้อร้องเรียน หรือรายงานถึงข้อกังวลใจเกี่ยวกับพฤติกรรมใดๆ ที่อาจก่อให้เกิด การกระทำที่ไม่เหมาะสม ผิดจริยธรรม หรืออาจก่อให้เกิดการฝ่าฝืนกฎหมาย การประพฤติไม่เหมาะสมทางการเงินหรือการฉ้อโกง หรือสามารถรายงานเมื่อพบเห็นการกระทำผิดกฎหมาย หรือการกระทำผิดต่อนโยบายบริษัท โดยผู้ร้องเรียนสามารถยื่นข้อร้องเรียนได้โดยตรงด้วยตนเองมายังประธานกรรมการตรวจสอบผ่านช่องทางอีเมล: whistleblowing@ifscapthai.com หรือทางไปรษณีย์ ระบุ “Private & Confidential” มาตามที่อยู่ด้านล่างนี้
ประธานกรรมการตรวจสอบ
บริษัท ไอเอฟเอส แคปปิตอล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
1168/55 ชั้น 20 อาคารลุมพินีทาวเวอร์
ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ
เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
ซึ่งประธานกรรมการตรวจสอบจะเป็นผู้พิจารณาข้อร้องเรียนด้วยตนเองและ/หรือแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนชุดหนึ่งที่มีความเป็นอิสระเป็นผู้ดำเนินการ โดยบริษัทได้เปิดเผยรายละเอียดของนโยบายและขั้นตอนดังกล่าวในเว็บไซต์ของบริษัท (www.ifscapthai.com) ภายใต้หัวข้อ “การกำกับดูแลกิจการที่ดี”
ในปี 2566 ไม่มีการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนใดๆ จากผู้มีส่วนได้เสียตามนโยบายและขั้นตอนการแจ้งการกระทำผิดและให้ความคุ้มครองผู้ร้องเรียน
บุคคลากรของบริษัท
ในปี 2566 บริษัทมีผู้บริหารและพนักงานทั้งหมด 89 คน แบ่งตามสายงานต่างๆ ดังนี้
หน่วยงาน
|
จำนวนพนักงาน
|
---|---|
ผู้บริหาร |
10
|
ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ |
15
|
ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ |
11
|
ฝ่ายบริหารความเสี่ยงด้านสินเชื่อ |
2
|
ฝ่ายปฏิบัติการและฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ |
28
|
ฝ่ายอำนวยการสินเชื่อลูกหนี้การค้า |
5
|
ฝ่ายการเงินบัญชี |
3
|
ฝ่ายกฎหมาย |
2
|
ฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ เลขานุการ และกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ |
2
|
ฝ่ายพัฒนาสินเชื่อ / ฝ่ายบุคคลและธุรการ |
10
|
เลขานุการผู้บริหาร |
1
|
รวม
|
89
|
ทั้งนี้ ในปี 2566 บริษัทไม่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนพนักงานอย่างมีนัยสำคัญและไม่มีข้อพิพาททางด้านแรงงานใดๆ
นโยบายในการพัฒนาบุคลากร
บริษัทให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในเรื่องของการพัฒนาความรู้ และความสามารถของพนักงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน คุณภาพของการให้บริการ โดยได้จัดให้มีการฝึกอบรม การสัมมนา โดยบุคคลทั้งจากภายในและภายนอกที่จำเป็นต่อพนักงานโดยรวมและรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงานและสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการทำงาน รวมทั้งมีนโยบาย ในการให้ผลตอบแทนกับพนักงานในอัตราที่เหมาะสมเพื่อจูงใจและรักษาให้พนักงานทำงานกับบริษัทในระยะยาว และนอกจากนี้ บริษัทได้จัดกิจกรรมเพื่อสานสัมพันธ์พนักงานเพื่อเป็นการสร้างความสามัคคีภายในองค์กรอย่างสม่ำเสมอ
แผนการสืบทอดตำแหน่ง (Succession Planning)
คณะกรรมการบริษัทตระหนักถึงความสำคัญเกี่ยวกับแผนการสืบทอดตำแหน่ง (Succession Planning) ในตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้บริหาร ซึ่งคณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหา จะทบทวนแผนดังกล่าวเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการเตรียมแผนในการสรรหาบุคลากรไว้รองรับในกรณีที่มีตำแหน่งว่างลง เกษียณอายุ หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้