การพัฒนาอย่างยั่งยืน
การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน
บริษัทจะยังคงดำเนินธุรกิจบนหลักการการเป็นผู้เชี่ยวชาญการให้บริการทางการเงินที่ยั่งยืน และให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย กลยุทธ์การดำเนินงานตามที่คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดไว้ และมุ่งมั่นสร้างการเติบโตภายใต้บรรษัทภิบาล มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมตามแนวทางการจัดการความยั่งยืน
โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ บริษัทจึงได้กำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ นโยบายการกำกับดูแลกิจการ จริยธรรมการดำเนินงาน นโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน นโยบายการป้องกันการทุจริต นโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม และนโยบายสิทธิมนุษยชน เพื่อสื่อสารให้พนักงานรับทราบและถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด (สามารถดูรายละเอียดของนโยบายได้บนเว็บไซต์ของบริษัท www.ifscapthai.com)
นอกจากนี้ บริษัทได้นำหลักการและแนวทางการพัฒนาความยั่งยืนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการด้านความยั่งยืน โดยมีเป้าหมายที่จะพาบริษัทไปสู่การสร้างการเติบโตของธุรกิจให้อยู่คู่กับสังคมในระยะยาว เป็นที่ยอมรับ น่าเชื่อถือ และทำให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม อาทิ ผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่ค้า ฯลฯ ให้การสนับสนุนธุรกิจและบริการอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน บริษัทยังได้ศึกษาและนำกรอบแนวคิดที่มองการพัฒนาที่มีมิติ (Dimensions) ของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้มีความเชื่อมโยงกันเป็นเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ขององค์กรตามแนวทางขององค์การสหประชาชาติ ประกอบด้วย 17 ข้อ โดยบริษัทได้พิจารณาเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจมากที่สุดมาปรับใช้กับการพัฒนาด้านความยั่งยืน ซึ่งเหล่านี้ต้องอาศัยความร่วมมือและ การสนับสนุนจากผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มในการผลักดันและขับเคลื่อนให้องค์กรบรรลุเป้าหมายที่วางไว้
เป้าหมายที่ 3
การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
บริษัทมุ่งมั่นให้ทุกคนมีสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดี
เป้าหมายที่ 4
การได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ
บริษัทส่งเสริมให้ทุกคนมีการศึกษา ที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
เป้าหมายที่ 8
งานที่มีคุณค่า และการเติบโตทางเศรษฐกิจ
บริษัทมีส่วนร่วมในการสร้างคุณค่า และการเติบโตทางเศรษฐกิจ การจ้างงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน รวมถึงการสร้างสรรค์นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ
เป้าหมายที่ 13
การรับมือกับการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ
บริษัทมุ่งมั่นปฏิบัติการอย่างเร่งด่วน เพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น
การจัดการผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ
บริษัทตระหนักถึงการบริหารจัดการความยั่งยืนและคำนึงถึงการดำเนินกิจกรรมของบริษัทที่อาจเกิดผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มตลอดห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ จึงได้ทบทวนและประเมินผลกระทบ ตลอดจนโอกาสและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เพื่อนำมาปรับปรุงการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพและตรงตามความต้องการของลูกค้า ผู้ถือหุ้น คู่ค้า และผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ซึ่งสามารถสรุปประเด็นสำคัญและกำหนดกรอบการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของบริษัทได้ดังนี้
1. การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Engagement)
- ลูกค้า: การวิเคราะห์ลูกค้า โดยใช้วิธีสำรวจความคิดเห็น ความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยให้มองเห็นวัตถุประสงค์ หรือความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า เพื่อนำข้อมูลที่ได้รับมาปรับปรุงการดำเนินงานของบริษัท
- พนักงาน: กลุ่มที่มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการดำเนินธุรกิจขององค์กรให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะในหน่วยงานที่ต้องติดต่อกับลูกค้า ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมีการพัฒนาบุคคลากรให้มีความรู้เชี่ยวชาญ และทักษะเกี่ยวกับงานอย่างเพียงพอ
2. การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการอัจฉริยะ (Smart Products & Services)
การนำนวัตกรรม / เทคโนโลยีมาพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ที่สามารถทำให้ลูกค้าทุกกลุ่มเข้าถึงได้ง่าย ตรงตามความต้องการของลูกค้า และแตกต่างจากคู่แข่ง
3. การปฏิบัติการอัจฉริยะ (Smart Operations)
การดำเนินงานด้านการปฏิบัติการที่มีการสร้างทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญ และนำนวัตกรรม / เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในกระบวนการด้านเอกสาร เพื่อความสะดวก รวมเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งมีระบบป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าและการคุกคามทางไซเบอร์ เป็นต้น
4. การสร้างเครือข่ายทางธุรกิจกับลูกค้า (Smart Partner)
เป็นการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า การให้ความรู้ คำปรึกษาเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ ควบคู่ไปกับการมองหาโอกาสการลงทุนร่วมกับลูกค้าภายใต้ “Your Partner in Success”
ผู้ถือหุ้น
ความคาดหวัง
- การขยายและพัฒนาธุรกิจ
- มีผลประกอบการที่ดีและเติบโตอย่างมั่นคง
- การดำเนินงานอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม
แนวทางการสร้างการมีส่วนร่วม
- การประชุมผู้ถือหุ้น
- การให้ข้อมูลผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ เช่น นักลงทุนสัมพันธ์
- การพบปะให้ข้อมูลกับนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ นักลงทุน/ผู้จัดการกองทุน
- การรายงานประจำปี
- การรายงานผลการดำเนินงานรายไตรมาส
- การเปิดเผยข้อมูลต่างๆ ผ่านช่องทางการสื่อสารของบริษัท
- การรับเรื่องร้องเรียนและข้อเสนอแนะต่างๆ
แนวปฏิบัติเพื่อให้เกิดคุณค่าให้ผู้มีส่วนได้เสีย
- สร้างผลการดำเนินงานและผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้น
- การดำเนินธุรกิจภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดี
- การเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส ครบถ้วน เพียงพอ และทันเวลา
พนักงาน
ความคาดหวัง
- ความก้าวหน้าและมั่นคงในอาชีพการงานและชีวิต
- การจ่ายค่าตอบแทน และสวัสดิการที่เหมาะสม
- การพัฒนาความรู้ และความสามารถ
- ความเท่าเทียมกัน และความเป็นธรรม
- การรับฟังการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
แนวทางการสร้างการมีส่วนร่วม
- การประเมินผลการปฏิบัติงาน
- การประชุมผู้บริหาร/พนักงานประจำเดือน
- การจัดสัมมนาและกิจกรรมสังสรรค์ต่างๆ
- การพัฒนาความรู้และ ความสามารถให้กับผู้บริหาร/พนักงาน
- การสำรวจระดับความสุข ในการทำงาน (Employee Satisfaction Survey) ของพนักงานประจำปี
- การรับเรื่องร้องเรียน และข้อเสนอแนะต่างๆ
แนวปฏิบัติเพื่อให้เกิดคุณค่าให้ผู้มีส่วนได้เสีย
- การบริหารจัดการผลตอบแทน ที่เหมาะสม และเป็นธรรม
- การให้โอกาสในการทำงานและความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
- การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของพนักงาน
- การปฏิบัติต่อพนักงาน อย่างเป็นธรรม
ลูกค้า / ลูกหนี้การค้า
ความคาดหวัง
- การให้บริการที่ดีตรงตาม ความต้องการของลูกค้า อย่างรวดเร็ว
- การเพิ่มบริการทางการเงิน ที่หลากหลาย
- มีความพร้อมและเข้าใจ ในการตอบสนองความต้องการ ของลูกค้า
- การเก็บรักษาความลับของลูกค้า
- มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับบริษัท
- การรับฟังการแสดง ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
แนวทางการสร้างการมีส่วนร่วม
- การสนทนาพูดคุยผ่าน ช่องทางการสื่อสารต่างๆ
- การลงพื้นที่เยี่ยมเยียน
- การกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานอย่างมีมาตรฐาน
- การนำเทคโนโลยีมาใช้ให้การบริการมีความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
แนวปฏิบัติเพื่อให้เกิดคุณค่าให้ผู้มีส่วนได้เสีย
- การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ ที่ตอบสนองความต้องการ ของลูกค้า
- การสร้างความไว้วางใจ ให้กับลูกค้า
- การสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า
- การตอบสนองและการจัดการ ต่อข้อร้องเรียนของลูกค้า
ผู้ให้เงินกู้ยืม
ความคาดหวัง
- การชำระเงินกู้ยืม ตามกำหนดเวลา
- การปฏิบัติตามเงื่อนไข และข้อตกลงในสัญญา
- การดำเนินธุรกิจ อย่างเป็นธรรม
แนวทางการสร้างการมีส่วนร่วม
- การพบปะ/การประชุมร่วมกัน
- การจัดกิจกรรมสร้าง ความสัมพันธ์ระหว่างกัน
- การติดต่อสื่อสาร ผ่านช่องทางต่างๆ
- การรับเรื่องร้องเรียน และข้อเสนอแนะต่างๆ
แนวปฏิบัติเพื่อให้เกิดคุณค่าให้ผู้มีส่วนได้เสีย
- การปฏิบัติตามสัญญา ตามข้อตกลงที่มีต่อผู้ให้เงินกู้ยืม
- การให้ข้อมูลที่ครบถ้วนและโปร่งใส
- การสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ให้เงินกู้ยืม ทั้งในด้านผลการดำเนินงานและการให้ข้อมูลที่ครบถ้วน และตรงต่อเวลา
คู่ค้า
ความคาดหวัง
- การปฏิบัติตามเงื่อนไข ที่ได้กำหนดไว้
- การปฏิบัติต่อคู่ค้า ด้วยความเป็นธรรม
- การส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจในด้านต่างๆ
- การมีส่วนร่วม ในการแก้ไขปัญหา
แนวทางการสร้างการมีส่วนร่วม
- การพบปะ/การประชุมร่วมกัน
- การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และให้ข้อเสนอแนะ
- การจัดกิจกรรม สร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน
- การติดต่อสื่อสาร ผ่านช่องทางต่างๆ
- การรับเรื่องร้องเรียน และข้อเสนอแนะต่างๆ
แนวปฏิบัติเพื่อให้เกิดคุณค่าให้ผู้มีส่วนได้เสีย
- การปฏิบัติตามเงื่อนไขการค้า และข้อตกลงอย่างเคร่งครัด
- มีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกคู่ค้าอย่างเป็นธรรม
คู่แข่งขัน
ความคาดหวัง
- การดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรม
แนวทางการสร้างการมีส่วนร่วม
- การแข่งขันที่เป็นธรรมร่วมกัน
- การร่วมมือกันในทางธุรกิจ
แนวปฏิบัติเพื่อให้เกิดคุณค่าให้ผู้มีส่วนได้เสีย
- การปฏิบัติตามกฎหมาย และกติกาการแข่งขันที่ดี
ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม
ความคาดหวัง
- การส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมทางสังคมที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม
- ความต้องการมีส่วนร่วม ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- การมีส่วนร่วมเป็นพลัง ในการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน
แนวทางการสร้างการมีส่วนร่วม
- การร่วมจัดกิจกรรมกับชุมชน และสังคม
- การรับฟังและแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น
- การรับเรื่องร้องเรียน และข้อเสนอแนะต่างๆ
แนวปฏิบัติเพื่อให้เกิดคุณค่าให้ผู้มีส่วนได้เสีย
- การสนับสนุนกิจกรรมสาธารณประโยชน์แก่ชุมชน ศาสนา องค์กรการกุศล และสังคม
- ปลูกฝังจิตสำนึกด้านการประหยัดพลังงาน ลดการใช้ทรัพยากร ที่สิ้นเปลือง และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
หน่วยงาน กำกับดูแล
ความคาดหวัง
- การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ข้อบังคับ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- ดำเนินธุรกิจภายใต้ ธรรมาภิบาลและมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
แนวทางการสร้างการมีส่วนร่วม
- การติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานกำกับดูแลผ่านช่องทาง ที่กำหนดไว้
- การมีช่องทางการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียนบนเว็บไซต์ ของบริษัท
แนวปฏิบัติเพื่อให้เกิดคุณค่าให้ผู้มีส่วนได้เสีย
- การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ของหน่วยงานกำกับดูแล อย่างเคร่งครัด